Feroci Philharmonic Winds
วงดุริยางค์เครื่องลมเฟโรซีฟิลฮาร์โมนิค (Feroci Philharmonic Winds) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 โดยอาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ เพื่อการระลึกถึงเกียรติคุณของท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยจัดการแสดงคอนเสิร์ต อีกทั้งยังคัดสรรบทเพลงที่มีชื่อเสียงของท่านมาแสดง อาทิ “Extreme Beethoven” “Songs from the Catskills” และ “Klezmer Classic” เป็นต้น รวมถึงการนำบทเพลงอันยิ่งใหญ่ทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทางดนตรี ใช้เครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีสากล และนักพากย์ ร่วมกันบรรเลงในแบบไทยร่วมสมัย และเพื่อเป็นการสานต่อปณิธานในการก่อตั้งวงดุริยางค์เครื่องลมอาชีพขึ้นเป็นวงแรกในประเทศไทย วงดุริยางค์เครื่องลมเฟโรซีฟิลฮาร์โมนิค Feroci Philharmonic Winds ได้รับเกียรติจากวาทยากรที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ Johan de Meij, Bert Appermont, Yasuhide Ito เป็นต้น
Thailand Jazz Competition
โครงการประกวดดนตรีแจ๊สที่ยาวนานกว่าทศวรรษ เพื่อเป็นการยกระดับและพัฒนาวงการดนตรีแจ๊สทัดเทียมในระดับสากล โดยมีรูปแบบการจัดงานดนตรีแจ๊สอย่างหลากหลายด้าน เป็นการประกวดดนตรีที่ประชันฝีมือผู้มีหัวใจรักดนตรีแจ๊สในระดับนานาชาติ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Jazz Ensemble ขนาด 4-7 ชิ้น Jazz Big Band ระดับชั้นมัธยมศึกษา และ Jazz Vocal ที่วัดความสามารถในการร้องสแคท
Pro Musica Junior
โปรมูสิกา จูเนียร์ แคมป์ สนับสนุนโดย บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เข้าร่วมอบรมและฝึกฝน บ่มเพราะความสามารถด้านดนตรี โดยเฉพาะการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในช่วงปิดภาคการศึกษา โดยมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีหลายๆท่าน และเยาวชนผู้ได้รับคัดเลือกเหล่านี้ จะมีโอกาสบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในคอนเสิร์ตที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ ควบคุมวงโดย อาจารย์ ดร.ทัศนา นาควัชระ
เรียนดนตรีวิธีศิลปากร (SU JAZZ CAMP)
เป็นโครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่เปิดรับเยาวชนที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านดนตรี เข้ารับการอบรม โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญภายนอกและคณาจารย์คณะดุริยางคศาสตร์
Silpakorn Summer Music School
ค่ายดนตรีฤดูร้อนที่เปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีได้มาฝึกซ้อมและเล่นดนตรีร่วมกับนักดนตรีมืออาชีพ และวาทยากรระดับโลก ฮิโคทาโร ยาซากิ วาทยกรชาวญี่ปุ่นผู้มีชื่อเสียงระดับโลก นำเสนอผ่านบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นพิเศษ
คันหู
การแสดงศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาสาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ โดยจะต้องเลือกหัวข้อในการทำจบการศึกษา ได้แก่ การแต่งเพลงประกอบเนื้อร้องและทำนอง (Songwriting) การประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Motion Picture) และ การทำดนตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์ (Music Campaign)
SU MEB
SUMEB เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรายวิชา 665207 Professional Internship : การฝึกงานด้านวิชาชีพ เป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิงและดนตรี ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ รวมจำนวนการฝึกงานไม่น้อยกว่า 480 ชั่วโมง นิทรรศการดังกล่าวเป็นเวทีให้นักศึกษาได้นำเอาทฤษฎี ความรู้ที่ตนเองได้เรียนและได้รับจากประสบการณ์จริงในการฝึกงานด้านวิชาชีพ และนำมาทดลองใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อยอดให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยมีการเรียนการสอนกระบวนการในการปฏิบัติควบคู่กับมืออาชีพในอุตสาหกรรม เชื่อมโยงด้าน active learning, social engagement ทั้งนี้เป็นการนำเสนอผลงานและนำองค์ความรู้ต่างๆ นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลรวมเข้าด้วยกัน และเสนอผ่านสารนิพนธ์ตามกระบวนการวิจัย ซึ่งหัวข้อเรื่องหรือกรณีศึกษางานวิจัย จะต้องเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับงาน แผนก/ฝ่าย หรือองค์กร ในด้านธุรกิจบันเทิงและดนตรี ที่ผ่านการฝึกงานด้านวิชาชีพมาแล้วนั้น นอกจากนี้นักศึกษาต้องนำเสนอผลงานวิจัย โดยมีคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ประเมินเพื่อสอบจบภาคการศึกษาปลายให้ครบตามกระบวนการทำวิจัยและนำผลงานงานวิจัยด้านธุรกิจบันเทิงและดนตรี มาจัดแสดงโชว์ผลงานในรูปแบบ Infographic บนสื่อสิ่งพิมพ์
Classical Guitar Summer Camp
โครงการค่ายดนตรีกีต้าร์คลาสสิกที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสฝึกทักษะการเล่นกีต้าร์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเล่นในโอกาสต่างๆ และเพื่อฝึกพัฒนาศักยภาพ ไปสู่การแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
Silpakorn University Wind Orchestra
โครงการจัดตั้งเครือข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป
วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ มีการแลกเปลี่ยนร่วมกันมาแต่โบราณและพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของ
แต่ละสังคม ความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน มีผลต่อสภาวะความอยู่รอด-การปรับเปลี่ยนและความสูญหายของดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ ทำให้ดนตรีพื้นบ้านในภูมิภาคนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการศึกษา เก็บข้อมูล วิเคราะห์แยกแยะ และสร้างระบบการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะของห้องสมุดเสียงดิจิตอล หรือฐานข้อมูลโน้ตเพลง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาระยะยาวและการพัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมดนตรีทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เห็นความจำเป็นในการสร้างศูนย์เครือข่ายดนตรีดิจิตอล โดยเลือกองค์กรทางการศึกษาหรือองค์กรที่เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมดนตรีที่เป็นตัวแทนในแต่ละประเทศ และสร้างความร่วมมือกับนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญระบบการเก็บข้อมูลดนตรีพื้นบ้าน เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ และระบบการใช้งานเทคโนโลยีดนตรีที่เกี่ยวกับเสียง การบันทึกโน้ต-บันทึกภาพ-บันทึกภาพเคลื่อนไหว ผ่านการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้ การทำโครงงานร่วมกัน และการพัฒนาแนวทางสื่อดิจิตอล อันจะนำไปสู่การสังเคราะห์ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านของอุษาคเนย์ ตลอดจนการพัฒนาไปสู่การสร้างงานสร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับแต่ละสังคมวัฒนธรรม