- ใบสมัครขอรับคัดเลือกทุนภายนอก ประจำปีการศึกษา2562 สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2562
- ใบสมัครขอรับทุนสนับสนุนการศึกษา (ทุนช่วยงาน) คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 31 กรกฎาคม 2562
- ใบสมัครขอรับคัดเลือกทุนสร้างชื่อเสียง ประจำปีการศึกษา2562 สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 15 – 31 กรกฎาคม 2562

รับสมัครทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562
ทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา 2562
Alisa Watcharaprapapong
I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Alisa Watcharaprapapong
I am text block. Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Alisa Watcharaprapapong

Admins
Music Plus Academy, Silpakorn University
เปิดสอบวัดระดับมาตรฐานทางดนตรีในระดับกลาง
“ประกาศนียบัตรความถนัดด้านดนตรีวิธีศิลปากร (Silpakorn Music Craftsmanship Certificate)”
คลอบคลุมด้านดนตรีใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาการแสดงดนตรี สาขาดนตรีแจ๊ส และสาขาดนตรีเชิงพาณิชย์
รวมถึงโสตทักษะ ทฤษฎีดนตรี และปฏิบัติเครื่องดนตรี สำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
* ปรับรูปแบบใหม่ ผู้สมัครสามารถเลือกสอบรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ หรือเลือกสอบทั้ง 3 วิชา
คลิกที่นี่เพื่อสมัครสอบ
รอบที่ | วันที่รับสมัคร และชำระเงิน | วันที่สอบ | สถานที่สอบ |
11 | วันนี้ – 20 พฤษภาคม 2562 | 1 มิถุนายน 2562 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
10 | วันนี้ – 12 มีนาคม 2562 | เลื่อนสอบเป็น 16 มีนาคม 2562 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ* ผู้ที่ผ่านการทดสอบ Level 6 สามารถยื่นใบประกาศนียบัตร SMCC |
9 | วันนี้ – 19 ธันวาคม 2561 | 22 ธันวาคม 2561 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
8 | 1 ตุลาคม – 9 พฤศจิกายน 2561 | 17-18 พฤศจิกายน 2561 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
7 | 1-24 กันยายน 2561 | 29 กันยายน 2561 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
6 | 11 – 26 มิถุนายน 2561 | 30 มิถุนายน 2561 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
5 | 22 มกราคม – 15 มีนาคม 2561 | 24-25 มีนาคม 2561 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
4 | 5 ธันวาคม – 8 มกราคม 2561 | 13 มกราคม 2561 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
3 | 24 ตุลาคม – 14 พฤศจิกายน 2560 | 18 พฤศจิกายน 2560 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
2 | 22 กันยายน – 18 ตุลาคม 2560 | 21 ตุลาคม 2560 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพ |
1 | 8 – 20 กันยายน 2560 | 23 กันยายน 2560 | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ.บรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ในกรณีที่ มีผู้สมัครในแต่ละรอบไม่ถึงจำนวนที่กำหนด ทางคณะฯ จะยกเลิกการสอบในรอบนั้น และคืนเงินค่าสมัครให้
อัตราค่าสมัคร ระดับกลาง (ปรับปรุง)
วิชาที่เปิดสอบ | อัตราค่าสมัครสอบ |
ทฤษฏีดนตรี | 600 บาท |
โสตทักษะ | 600 บาท |
ปฏิบัติเครื่องดนตรี/ ขับร้อง | 1,200 บาท |
สมัครสอบทั้ง 3 วิชา | 2,000 บาท |
***สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ จัดสอบแค่วิชาทฤษฎีดนตรี และโสตทักษะ หากต้องการสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี/ ขับร้อง สามารถสมัครสอบของสาขาการแสดงดนตรี หรือ ดนตรีแจ๊ส
ชำระค่าสมัครสอบเป็นเงินสดได้ที่
อาคาร Music Plus Academy, Silpakorn University คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ซ.บรมราชชนนี 41 ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
หรือผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาบางขุนนนท์
“Silpakorn School of Music Project ระยะที่ 7” เลขที่ 058-0-39460-3
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 087-926-9178, 02-880-8660
รายละเอียดการเตรียมสอบประกาศนียบัตรความถนัดด้านดนตรีวิธีศิลปากร
Silpakorn Music Craftsmanship Certificate (SMCC)
สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์
update 11 ธ.ค.2561
แนวเพลงสอบปฏิบัติ (ตามการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อฯ)
update 23 มี.ค.2562
*** Voice ต้องมี Piano Accompanist มาด้วยทุกครั้ง
……………………………………………………………..
ศูนย์สอบภาคเหนือ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
Read Moreจรรยาบรรณนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัย
คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2541 ได้กำหนด จรรยาบรรณนักวิจัย ไว้เป็นแนวทางยึดถือปฏิบัติ สำหรับนักวิจัยทุกสาขาวิชาการ เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย โดยกำหนดไว้ 9 ประการ ดังนี้
- นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึง บุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย - นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด
นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัย ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัยให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ - นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญหรือมีประสบการณ์เกี่ยวเนื่อง กับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพและเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจ ก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย - นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม - นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่ เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวงหรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล - นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่าอคติส่วนตนหรือความลำเอียงทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหาย ต่องานวิจัย - นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปทางมิชอบ - นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง - นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
นักวิจัยพึงมีจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญ และประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ
ด้านการวิจัย-งานสร้างสรรค์
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการดำเนินงานจัดทำระบบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนของสถาบันแลสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของ ชาติ มีการจัดสรรทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรบุคคล แหล่งค้นคว้าต่างๆ และมีระบบสร้างขวัญและกำลังใจเพื่อกระตุ้นให้อาจารย์สร้างงานวิจัย/งาน สร้างสรรค์
กองทุนวิจัยสร้างสรรค์
คู่มือการเสนอขอรับทุนอุดหนุน การวิจัย/งานสร้างสรรค์
งานวิจัยสร้างสรรค์
Read More
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และประกาศกองทุนสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์
- ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง หลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และวิธีการเบิกจ่ายเงินกองทุนสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์
- ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง หลักเกณฑ์ อัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทน ผู้ทรงคุณวุฒิและวิธีการเบิกจ่ายเงิน จากกองทุนสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและ การสร้างสรรค์ ในส่วนของมหาวิทยาลัยศิลปากร (สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์)
- ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง หลักเกณฑ์ อัตราค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการสมทบ/คณะทำงาน/คณะอนุกรรมการและวิธีการเบิกจ่ายเงินจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ในส่วนของมหาวิทยาลัยศิลปากร (สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์)