การประชุมวิชาการระดับชาติด้านเสียงและดนตรีแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2
(2ndSilpakorn Conference in Sound and Music)
วันที่ 10-11มิถุนายน 2564
ณ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พันธกิจด้านการวิจัยเป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านการวิจัย งานสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากรซึ่งได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าด้านศิลปะและ การสร้างสรรค์ คณะดุริยางคศาสตร์จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์และเผยแพร่งานวิชาการทางดนตรี ในที่ประชุมวิชาการทางด้านดนตรีโดยเฉพาะ
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์และนักวิจัย และผลงานวิทยานิพนธ์/งานค้นคว้าอิสระของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ดังนั้น จึงได้กำหนดจัด “การประชุมวิชาการระดับชาติด้านเสียงและดนตรี แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2” ในโอกาสที่คณะก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3โดยเล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมงานวิจัย งานสร้างสรรค์และงานนวัตกรรมทางดนตรีที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อพัฒนานักวิชาการด้านเสียงและดนตรี ให้สามารถสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพ ด้านโสตศิลป์ ทุกแขนง การแสดงดนตรี และงานสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับเสียงและดนตรี รวมถึงการบรรยายประกอบการแสดง หรือการสาธิตการแสดง ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
กำหนดการลงทะเบียนและรับผลงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน | ระยะเวลา |
เปิดรับบทความวิจัย/บทความวิชาการ ฉบับเต็ม | ตั้งแต่ วันนี้ – 30 เมษายน 2564 |
การชำระเงินค่าลงทะเบียน | ภายใน 3 วัน หลังจากส่งบทความ |
แจ้งผลการพิจารณาพร้อมคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ | 7 – 21 พฤษภาคม 2564 |
ส่งบทความฉบับแก้ไข | 28 พฤษภาคม 2564 |
ส่งคลิปการนำเสนอผลงาน | 4 มิถุนายน 2564 |
ประกาศกำหนดการนำเสนอบทความวิจัย | 7 มิถุนายน 2564 |
นำเสนอผลงานวิจัย | 10-11 มิถุนายน 2564 |
*หมายเหตุ
1. หากได้รับผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะดำเนินการแจ้งเป็นระยะ และออกหนังสือตอบรับการนำเสนอผลงานวิจัยให้กับผู้ที่บทความวิจัยผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว
2. ผลการพิจารณาบทความจะแจ้งผลให้ทราบทาง E-mail และโทรศัพท์ติดต่อเป็นรายบุคคล
วิธีการสมัคร
สมัครเข้าร่วมการประชุมวิชากร Cilck
วิธีการส่งผลงานวิจัย
ผู้นำเสนอผลงานส่งผลงาน พร้อมกับ upload ไฟล์ Microsoft Word (*.docx หรือ *.doc)
ได้ที่ E-mail : conference.music@su.ac.th, Boonkeaw_K@silpakorn.edu
ติดต่อสอบถาม
งานวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คุณกนกพร บุญแก้ว โทรศัพท์ 0-2880-8660, 06-1191-4955 E-mail : conference.music@su.ac.th, Boonkeaw_K@silpakorn.edu
การชำระเงิน
ชำระเงินผ่านทางธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี“คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร”
เลขที่บัญชี 058-0-32369-2 โดยแนบสำเนาหลักฐานการชำระเงินพร้อมรายละเอียดการชำระเงิน
(ชื่อผู้โอน เลขที่ ใบนำฝาก ฯลฯ) มาที่ E-mail : conference.music@su.ac.th,Boonkeaw_K@silpakorn.edu
รูปแบบการนำเสนอผลงาน
ผลงานที่นำเสนอเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก หรือปริญญาโท หรือการค้นคว้าอิสระระดับปริญญาโทของผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษา หรือผลงานของนักวิชาการ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนในประเทศไทย และนักวิชาการอิสระ
1. การนำเสนอผลงานบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทอรรถาธิบายวิเคราะห์งานสร้างสรรค์
(Oral Presentation)
ใช้เวลาในการนำเสนอเรื่องละ 20 นาที (รวมถาม-ตอบ)
1.1 งานวิจัย/สร้างสรรค์ ด้านเสียง โสตศิลป์หรือดนตรี ดนตรีศึกษา ทฤษฎีและการวิเคราะห์ ดนตรีวิทยา ดนตรีชาติพันธุ์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 ผลงานสร้างสรรค์ทางการประพันธ์ดนตรี อรรถาธิบาย วิเคราะห์ วิธีการ หรือบันทึกข้อมูลงานประพันธ์หรืองานสร้างสรรค์ใหม่ด้านเสียงหรือดนตรี
2. การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีในรูปแบบการแสดงประกอบการบรรยาย (Lecture Recital) ผลงานการแสดงดนตรี อรรถาธิบาย วิเคราะห์ วิธีการ หรือบันทึกข้อมูลการแสดงดนตรี ความยาวรวม 20 นาที (รวมถาม-ตอบ)
คำแนะนำในการจัดเตรียมต้นฉบับ(Full Paper)
การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ มีการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์(Refereed Journal) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ(Peer Review) จำนวน2 คน ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของบทความ ผู้ประเมินจะไม่ทราบชื่อเจ้าของบทความ และผู้เขียนบทความจะไม่สามารถทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่พิจารณาบทความ(Double Blind Review) โดยบทความหรือผลงานที่ประสงค์จะนำเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับชาติต้องอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้
- ผู้เขียนต้องระบุประเภทของบทความว่าเป็นบทความประเภทใด เช่น บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทอรรถาธิบายวิเคราะห์งานสร้างสรรค์ โดยส่งถึงกองบรรณาธิการ ประกอบด้วยต้นฉบับของบทความในรูปแบบMicrosoft Word(บันทึกเป็น.doc หรือ.docx) และPDF (ต้องส่งทั้ง2 แบบ)
- ความยาวของบทความรวมตัวอย่าง ภาพประกอบ โน้ตเพลง บรรณานุกรม และอื่นๆ มีความยาวประมาณ 10-15หน้ากระดาษพิมพ์ A4โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ด้านบน 4.5ซม. ด้านซ้าย 3.5ซม. และด้านขวา 3ซม. ใช้แบบอักษรมาตรฐาน TH Sarabun New ตลอดทั้งบทความ และส่วนประกอบของบทความที่สำคัญตามลำดับ ดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ใช้อักษรตัวหนา (Bold) ขนาด 18 pt จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยชื่อเรื่องภาษาอังกฤษในบรรทัดต่อมา ให้หลีกเลี่ยงการใช้อักษรย่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง
2.2 ชื่อผู้เขียน (Author) ใช้อักษรขนาด 14 pt จัดต่อจากชื่อเรื่องชิดขวา ระบุข้อมูลเฉพาะ ชื่อ-นามสกุลจริงของผู้เขียนเท่านั้น (ไม่ต้องใส่ตำแหน่งทางวิชาการ) หากมีผู้เขียนร่วมจะต้องระบุให้ครบถ้วนถัดจากชื่อผู้เขียนหลักทุกรายการ ตำแหน่งทางวิชาการ ที่อยู่และสังกัดของผู้เขียนให้ระบุเป็นเชิงอรรถ (ถ้ามี)
2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรปกติขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบกระจายบรรทัด (Thai Distributed) ซึ่งควรประกอบด้วยรายละเอียด เกี่ยวกับปัญหา หรือความสำคัญของปัญหา หรือความสำคัญของการศึกษา ผลการศึกษาและข้อสรุป รายละเอียดข้างต้นต้องเขียนกะทัดรัด (ความยาวรวมทั้ง 2ภาษาไม่เกิน 500คำ)
2.4 คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่ควรเกินภาษาละไม่เกิน3คำ) ใต้บทคัดย่อของภาษานั้นๆ ควรเป็นคำที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล
2.5 เนื้อหา (Content) ใช้อักษรปกติ ขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบกระจายบรรทัด หากเป็นบทความที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ให้ระบุชื่อของแหล่งทุนในส่วนของกิตติกรรมประกาศตามเงื่อนไขการรับทุน
2.6 บรรณานุกรม (Bibliography) ใช้อักษรขนาด 16 pt จัดแนวพิมพ์แบบชิดซ้ายโดยบรรทัดต่อมาของรายการเดียวกันจะต้องย่อหน้าเข้า1.25 cm (1 Tab) รายการอ้างอิงภายในเนื้อหาเป็นแบบเชิงอรรถ (Footnote) พร้อมทั้งตรงกับบรรณานุกรมท้ายบทความครบถ้วนทุกรายการ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.7 การเขียนเชิงอรรถและบรรณานุกรมอ้างอิงตามระบบ APA (American Psychological Association) เท่านั้น
2.8 หมายเลขหน้า ใช้อักษรขนาด 14 pt ใส่ไว้ตำแหน่งบนขวาของหัวกระดาษ (header)
3. องค์ประกอบของบทความ
3.1 บทความวิจัย ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
– ชื่อเรื่อง(Title)
– บทคัดย่อ(Abstract)
– คำสำคัญ(Keywords)
– บทนำ(Introduction)
– วัตถุประสงค์(Research Objectives)
– วิธีการวิจัย(Research Methodology)
– ผลการวิจัย(Results)
– อภิปรายผลการวิจัย(Discussion)
– สรุป(Conclusion)
– บรรณานุกรม(Bibliography)
3.2 บทความวิชาการ หรือบทอรรถาธิบายวิเคราะห์งานสร้างสรรค์
ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
– ชื่อเรื่อง(Title)
– บทคัดย่อ(Abstract)
– คำสำคัญ(Keywords)
– บทนำ(Introduction)
– เนื้อหา(Body of Text)
– สรุป(Conclusion)
– บรรณานุกรม(Bibliography)
4. กรณีมีไฟล์เอกสารแนบประกอบกับบทความ เช่น ภาพประกอบ หรือรูปกราฟิก จะต้องระบุชื่อไฟล์ ให้ชัดเจน และเรียงลำดับหมายเลขชื่อไฟล์ตรงกับรูปในบทความ โดยใช้รูปที่มีขนาดเหมาะสม มีคุณภาพสีและความละเอียดสำหรับการพิมพ์ (ไฟล์รูปชนิด TIFF หรือ JPEG ความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi ขนาดไฟล์ไม่น้อยกว่า 500 KB) ถ้ามีเส้นและ/หรือตารางควรมีความหนาไม่ต่ำกว่า 0.75 pt สำหรับชื่อตาราง รูปภาพ หรือตัวอย่างให้ระบุเลขที่เป็นตัวเลขอารบิก เช่น ตารางที่ 1 หรือตัวอย่างที่1 เป็นต้น
5. กรณีมีตัวอย่างโน้ตเพลง ไม่ควรใช้การถ่ายเอกสารแบบตัดแปะ ใช้พิมพ์ใหม่โดยใช้โปรแกรมสำหรับพิมพ์โน้ต เช่น โปรแกรมSibelius หรือโปรแกรมFinale เป็นต้น
6. กรณีที่เป็นบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา(วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์) ต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักเป็นลายลักษณ์อักษรในการนำผลงานเสนอตีพิมพ์ อีกทั้งมีชื่อลำดับถัดจากผู้เขียน
7. กรณีที่เป็นบทความที่มีผู้เขียนมากกว่า1 คน จะต้องมีใบรับรองจากผู้เขียนร่วมทุกคนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้ระบุชื่อ – นามสกุลจริงในลำดับถัดจากผู้เขียนหลักทุกรายการ(ที่อยู่และสังกัดของผู้เขียนร่วมให้อยู่ในรูปของเชิงอรรถใต้บทคัดย่อเช่นเดียวกับผู้เขียนหลัก)
8. กองบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตอบรับการนำเสนอ ความรับผิดชอบใดๆ เกี่ยวกับเนื้อหาและความคิดเห็นในบทความเป็นของผู้เขียนเท่านั้น กองบรรณาธิการไม่ต้องรับผิดชอบ
9. บทความที่นำเสนอในที่ประชุมต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณา โดยผลการพิจารณาดังกล่าวถือเป็นที่สุด6.
2nd Silpakorn Conference in Sound and Music
10-11 June 2021
Faculty of Music, Silpakorn University
e-mail: conference.music@su.ac.th
Tel. : +66 (0)2 880 8660
The Faculty of Music, Silpakorn University has recently entered its third decade. To celebrate this great occasion, the institute will organize its first Conference in ‘Sound and Music’.
This conference welcomes papers in all genres of Music including Sonic Art, Lecture Recital and other topics relating to Sound and Music.
All presentation sessions will be 20 minutes, followed by 10 minutes discussion.
Please include in your application:
- Title and the type of presentation you wish to be considered for.
- The full paper.
Timeline
- Applications must be submitted before 30th April 2021.
- Applicants will be informed of the success of their application by the28thMay 2021.
- The Final Conference Programme of will be published the early of June 2021.
The official languages of the conference will be English and Thai.
Registration fee if accepted: 2,500 thb.
ขอความร่วมมือจากท่าน ร่วมทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านเสียงและดนตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 1